วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

การประเมินคุณค่าของหลักฐาน



       ขั้นตอนที่สามของวิธีการทางประวัติศาสตร์ คือการประเมินหลักฐาน ขั้นตอนนี้ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะใช้ในการตรวจหลักฐานว่ามีคุณค่าและความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่ก่อนที่จะนำมาใช้ศึกษาประวัติศาสตร์การประเมินหลักฐานมี 2 วิธีดังนี้

การประเมินภายนอก

       การประเมินภายนอก เป็นการประเมินที่มุ่งพิสูจน์หลักฐานว่าเป็นของจริงหรือปลอม โดยมีข้อพิจารณาเบื้องต้นดังนี้

การประเมินภายใน

       การประเมินภายใน เป็นการประเมินสิ่งที่ปรากฏบนหลักฐาน อาทิ ตัวอักษร รูปภาพ ร่องจารึก ตำหนิ ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด มีข้อความใดที่น่าสงสัย หรือกล่าวไว้ไม่ถูกต้อง

การจำแนกลำดับความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

การจำแนกลำดับความสำคัญของ

หลักฐานทางประวัติศาสตร์



หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทยสามารถจำแนกเป็นลำดับความสำคัญได้ 2 ชั้น ดังนี้    

หลักฐานปฐมภูมิหรือหลักฐานชั้นต้น เป็นหลักฐานที่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์

   ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริง ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น กฎหมาย สนธิสัญญา บันทึกคำให้การ ประกาศทางราชการ ศิลาจารึก และส่วนที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ภาพเขียนบนผนังถ้ำ เครื่องมือเครื่องใช้เครื่องประดับ เป็นต้น


หลักฐานทุติยภูมิหรือหลักฐานชั้นรอง
   คือหลักฐานที่เกิดจากการนำหลักฐานปฐมภูมิมาวิเคราะห์ตีความ ได้แก่ผลงานการค้นคว้าที่เขียนภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ที่กำลังศึกษามักปรากฏในรูปของบทความทางวิชาการและเอกสารประวัติศาสตร์ พงศาวดาร หนังสือต่าง ๆ


หลักฐาน : กุญแจไขปริศนาประวัติศาสตร์

หลักฐาน : กุญแจไขปริศนาประวัติศาสตร์



ความหมายของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

      หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หมายถึงร่องรอยของพฤติกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต ที่ยังคงเหลือตกค้างมาถึงปัจจุบันซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องนำทางในการสืบค้นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ได้



หลักฐานทางประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่



      หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่โบราณสถาน โบราณวัตถุ, ประเพณีวัฒนธรรมและพิธีกรรมโบราณ,หลักฐานจากการบอกเล่าสืบทอดกันมา อาทิ นิทาน เพลง กลอนร้อง เป็นต้น



หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่หลักฐานที่มีลักษณะการจดบันทึกเรื่องราวต่างๆในอดีตไว้เป็นลายลักษณ์อักษรได้แก่จารึก พงศาวดาร จดหมายเหตุบันทึกความทรงจำ เอกสารวิชาการ หนังสือ



ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยใช้หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรเป็นส่วนใหญ่

ขั้นตอนทางประวัติศาสตร์ขั้นที่ 1 การตั้งหัวเรื่องศึกษาทางประวัติศาสตร์

ขั้นตอนแรกของวิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การกำหนดหัวข้อศึกษาประวัติศาสตร์ เป็นขั้นตอนที่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะกำหนดหัวข้อ(เรื่อง)ที่จะทำการศึกษา โดยมีหลักพิจารณาดังนี้ หัวข้อศึกษาประวัติศาสตร์จะต้องตรงกับความสนใจและความถนัดของผู้ศึกษา ต้องเป็นหัวข้อที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม และที่สำคัญหัวข้อที่กำหนดขึ้นนั้นจะต้องไม่ซ้ำกับเรื่องที่ผู้อื่นได้ศึกษาไปแล้ว เป็นต้น



ประโยชน์ของการกำหนดหัวข้อศึกษาประวัติศาสตร์

     ช่วยให้ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์มีขอบเขตในการศึกษาโดยยึดหัวข้อเป็นหลัก

ช่วยให้ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์มีแนวทางในการหาหลักฐานและข้อมูล

หัวข้อศึกษาประวัติศาสตร์ทำให้บุคคลทั่วไปเข้าถึงงานด้าน
ประวัติศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น

วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ วิธีการแสวงหาความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กับสังคมมนุษย์ในอดีต

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ครูสังคม

                         
                         การสอนสังคมที่ดีจะต้องปฏิบัติหลายประการด้วยกัน